วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่3


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่3
วันพุธ ที่ 31 มกราคม 2561 (13.30-15.30)

เนื้อหาการเรียนรู้
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร
Ø ความหมายและประเภทของผู้นำ
          ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป์ บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
Ø ประเภทของผู้นำ
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ 1 ผู้นำแบบใช้พระเดช 2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  3  ผู้นำแบบพ่อพระ
              1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช  (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจใน การปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
               1.2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  (Charismatic Leadership) ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้ ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้
               1.3  ผู้นำแบบพ่อพระ  (Symbolic Leadership) ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
2.  ผู้นำตามการใช้อำนาจ 
          2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ   (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการสั่งการแบบเผด็จการโดยรวบอำนาจ ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น   ตั้งตัวเป็นผู้บงการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังโดยเด็ดขาด ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ฮิตเลอร์
              2.2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership ผู้นำแบบนี้เกือบไม่มีลักษณะเป็นผู้นำเหลืออยู่เลย คือ ปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำกิจการใด ๆ ก็ตามได้โดยเสรี ซึ่งการกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ และตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด ๆ ทั้งสิ้น
               2.3  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ผู้นำแบบนี้ เป็นผู้นำที่ประมวลเอาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากคณะบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มาประชุมร่วมกัน อภิปรายแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้   ฉะนั้น   นโยบายและคำสั่งจึงมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก
3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก  จำแนกเป็น  3 แบบ คือ
               3.1  ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ   หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์   วิจารณ์   คาดโทษ   แสดงอำนาจ
               3.2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulater Leadership) ผู้นำแบบนี้พยายามสะสมและใช้อำนาจ โดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง  โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
               3.3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership) ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff  ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNAถ้าพิจารณาจากบุคลิกภาพอีริก เบิร์น จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ได้วิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่ 3 องค์ประกอบ  คือภาวะของความเป็นเด็ก (Child  egostate )  ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (Adult egostate ) และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง  (Parents  egostate)  ก็จะมองผู้นำได้เป็น 3 แบบ คือภาวะความเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ในแบบผู้นำ
Ø คุณสมบัติของผู้นำ
1. ความมุ่งมั่น (drive)
2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
Ø ภาวะผู้นำ (Leadership)
           ภาวะผู้นำ กระบวนการหรือพฤติกรรมการใช้อิทธิพลเพื่อควบคุม สั่งการ เกลี้ยกล่อม จูงใจ ให้ผู้ตามหรือกลุ่ม ปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือความเป็นผู้นำนั้นเอง คุณสมบัติของผู้นำมีหลายอย่าง หลายด้าน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องและได้ผลดี โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. ตัวผู้นำ 2. ผู้ตาม 3. จุดหมาย 4. หลักการและวิธีการ 5. สิ่งที่จะทำ         
6. สถานการณ์
ภาวะผู้นำ (Leadership)
          1. ผู้นำโดยกำเนิด ผู้นำประเภทนี้ เกิดมาก็มีคุณลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ อาจสืบทอดโดยตำแหน่ง หรือโดยบุญบารมีที่ได้สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน จึงทำให้บุคคลนั้น เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลอื่น ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้นำโดยกำเนิด เช่น พระพุทธเจ้า พระเจ้าอยู่หัว
          2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ ผู้นำประเภทนี้เกิดขึ้นได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถเป็นอัจฉริยะ โดยเฉพาะบุคคลในตอนเริ่มต้นของชีวิตในระยะแรก ๆ ก็เหมือนกับบุคคลทั่วไป แต่เนื่องจากเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญา ได้รับการศึกษาพัฒนาปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้นำ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายธานินทร์ เจียรวนนท์ และนายบิลเกตต์
          3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่เกิดจากการได้รับการแต่งตั้งตามสายงานการบริหาร ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ประสบความสำเร็จก็จะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เช่น อธิบดี ผู้อำนวยการ อธิการบดี หัวหน้าฝ่าย
          4.  ผู้นำตามสถานการณ์ เป็นผู้นำที่เกิดขึ้นแบบมีทีมงานเป็นส่วนใหญ่ มีความใฝ่ใจสูง เน้นการบริหารงานให้ได้ทั้งคนและทั้งงาน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน รู้จักหน้าที่ของตน ผู้นำประเภทนี้แสดงออกให้เกินถึงความเป็นผู้นำที่ต้องออกคำสั่ง การบังคับบัญชา การตัดสินใจ ผู้นำแบบนี้มักเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นครู เป็นผู้สอนแทน ผู้นำในการฝึกอบรม การประชุม
Ø ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร
       หน้าที่ของผู้บริหาร (Management Functions) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดกระบวนการจัดการ             
       Henri Fayol นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส ในต้นศตรรษที่ 19 ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารดังนี้ (POCCC)
1. Planning (การวางแผน)
2. Organizing (การจัดองค์การ)
3. Commanding (การสั่งการ)
4. Coordinating (การประสานงาน)
5. Controlling (การควบคุม)

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่2


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่1
วันพุธ ที่ 24 มกราคม 2561 (13.30-15.30)


เนื้อหาการเรียนรู้
การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย
Ø ความหมายของการบริหารการศึกษา ( Education Administration )
          การบริหารการศึกษา แยกออกเป็น 2 คำ คือ การบริหาร และ การศึกษา ความหมายของ การบริหารมีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน คือ
     - การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
     - การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
     - การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
       จากความหมายของ การบริหาร พอสรุปได้ว่า การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่  วางไว้

        ส่วนความหมายของ การศึกษา มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้
- การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
- การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
- การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
   จากความหมายของ การศึกษา ข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี

Ø ความหมายของการบริหารสถานศึกษา
วีรชัย  วรรณศรี (2545) การบริหารสถานศึกษา หมายถึง กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกในสังคมให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
วิโรจน์  สารัตนะ (2546) กล่าวว่า การการบริหารเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดหมายขององค์กร โดยอาศัยหน้าที่ทางการบริหารที่สำคัญประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การนำ (Leading) และการควบคุม(Controlling)
เฉลิมชัย  สมท่า (2547)  กล่าวว่าการบริหารโรงเรียนเป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่จะต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
          สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี มีกลังคนที่มีความสามารถพร้อมสร้างบุคลากรให้ทำงานได้อย่างถูกต้องเพื่อให้บุคลากรร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของงานภายในสถานศึกษาและให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคม
Ø ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา
การบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กร  สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ นั้นหมายถึงผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการบริหารเป็นอย่างดี


Ø หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา
       หลักการบริหารงานบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2545)  ให้แนวคิดในการบริหารและการ จัดการที่ดี เพื่อมาปรับใช้ในบริบทขององค์กรทางการศึกษา ในประเด็กดังนี้
1. การกำหนดจุดหมาย ผลที่คาดหวัง หรือภาพความสำเร็จของการบริหารและการจัดการที่ดี (Goal / Expected / Output)
                    2. กระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี (Process)
                   3. ทรัพยากรในการบริหารจัดการที่ดี (Input / Resource)
                   4. ระบบควบคุม (Feedback / Control System)
                   5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและการจัดการที่
ขอบข่ายของการบริหาร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2545) ได้กำหนดขอบข่ายการบริหารงานบุคคลไว้ประกอบด้วย 6 งาน ได้แก่
                   1. การวางแผนกำลังคน
                   2. การสรรหา
                   3. การบรรจุแต่งตั้ง
                   4. การพัฒนา
                   5. การธำรงรักษา
                   6. การให้พ้นจากงาน
Ø พัฒนาการของทฤษฏีทางการบริหาร
ทัศนะดั้งเดิม
(โบราณ)
ทัศนะเชิงพฤติกรรม
( ค.ศ.1800)
ทัศนะเชิงปริมาณ
( ค.ศ.1950)
ทัศนะร่วมสมัย
(ปัจจุบัน)
การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
นักพฤติกรรมระยะแรก
การบริหารศาสตร์
ทฤษฏีเชิงระบบ
การจัดการเชิงบริหาร
การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น
การบริหารปฏิบัติการ
ทฤษฏีตามสถานการณ์
การบริหารแบบราชการ
เคลื่อนไหวมนุษยสัมพันธ์
สารสนเทศการบริหาร
ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่
หลักพฤติกรรมศาสตร์



วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

การบริหารการศึกษาปฐมวัย-บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันพุธ ที่ 17 มกราคม 2560 (เวลา : 12.30-15.30 น.)

*ขาดการเรียนเนื่องจากชดเชยการสังเกตุการสอนที่ รร.พญาไท*